top of page
Microscope

CGL

 Genetics & Molecular Biology Laboratory

รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ

About us

ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ด้านพันธุศาสตร์และชีววิทยาระดับโมเลกุล

โดยทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่มีคุณภาพสูง ทันสมัย ให้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้อง แม่นยำ

การทดลองในห้องปฏิบัติการ
นักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์
Laboratory
Male Scientist

Specialist

Professional and Proficient in Genetics & Molecular Biology

DSC01435_edited_edited.jpg

Cytogeneticist

ดร.ปฐมพงศ์ ขาวอ่อน

Dr. Patompong Khaw-on
M.T., Ph.D.

Serviecs

ให้บริการตรวจวิเคราะห์ด้านมนุษย์พันธุศาสตร์ด้วยวิธีที่เป็นมาตรฐานและทันสมัย

  • Chromosome Study คือ การตรวจวิเคราะห์ในระดับโครโมโซมเพื่อใช้ในการวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรม

มีให้บริการ 2 แบบตามความละเอียดและลักษณะความผิดปกติที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ ได้แก่ Cytogenetic และ Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT)

  • การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ได้แก่ Hemoglobin typing, การตรวจยีนส์กลายพันธุ์ (beta-thalassemia mutations) และการตรวจ alpha-thalassemia-1

Microscope

Cytogenetics

Molecule

Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT)

การตรวจเลือด

Thalassemia

การตรวจวิเคราะห์ด้านเซลล์พันธุศาสตร์

การตรวจคัดกรองหาความผิดปกติทางโครโมโซมของทารกในครรภ์จากเลือดแม่

การตรวจวินิจฉัยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย

สาระน่ารู้

สถิติของเด็กที่มีอาการดาวน์ซินโดรม

ปัจจุบันมีคุณแม่ที่คลอดลูกราวๆ 700,000 คน/ปี พบว่ามีทารกที่อยู่ในกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมถึงปีละ 800-1,000 คน ทำให้ขณะนี้ประเทศไทยเรามีเด็กที่อยู่ในกลุ่มอาการนี้ราว 80,000 คน ทั่วประเทศ โดยทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี มีความเสี่ยงที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมได้ประมาณ 1 ต่อ 800 คน ขณะที่คุณแม่ท้องที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี มีความเสี่ยงเพียง 1 ต่อ 1,000 คน เท่านั้น ที่สำคัญ การดูแลเด็กที่มีอาการดาวน์ซินโดรมต้องมีค่าใช้จ่ายตลอดชีวิตเฉลี่ยคนละ 2.5 ล้านบาท นับว่าเป็นภาระค่อนข้างหนักทีเดียวสำหรับครอบครัว

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

1. การตรวจทางชีวเคมี 

เป็นการเจาะเลือดแม่เพื่อตรวจหาระดับสารเคมี ได้แก่ อัลฟ่าฟีโตโปรตีน (alpha feto-protein) เอสตริออล (estriol) เอชซีจี (hCG) อินฮิบิน เอ (Inhibin A) แพบเอ (PAPP-A) และนำมาคำนวนหาอัตราความเสี่ยงของทารกในครรภ์ โดยสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16-14 สัปดาห์

2. อัลตร้าซาวน์

เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และนิยมกันมาก แต่ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าลูกเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่

3. เทคนิค Non-invasive prenatal testing (NIPT)

มีประสิทธิภาพในการตรวจมากกว่า 99% สามารถวิเคราะห์ดีเอ็นเอได้ทั้งคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการเจาะเลือดแม่จึงไม่กระทบต่อลูกน้อยและไม่เสี่ยงต่อการแท้ง แต่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

การตรวจวินิจฉัยดาวน์ซินโดรม

การตรวจเซลล์พันธุศาสตร์ Cytogenetic หรือ Karyotyping

เป็นวิธีที่เป็นมาตรฐาน (Gold standard) ของการวินิจฉัยความผิดปกติของโครโมโซม มีความแม่นยำ 99% เพราะสามารถตรวจโครโมโซม 46 แท่ง 23 คู่ของลูกน้อยในท้องได้ทั้งหมด นอกจากความเสี่ยงเรื่องดาวน์ซินโดรมแล้ว ยังบอกเพศได้ และบอกความผิดปกติอื่นๆ ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย แต่การเจาะน้ำคร่ำก็มีความเสี่ยงที่จะแท้งลูกได้ ทางที่ดีควรตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยวิธีอื่นก่อน

ข่าวสารประชาสัมพันธ์

52765_edited.jpg

กิจกรรมการบรรยายและการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส-19

Contact Us

บริษัท เชียงใหม่ เจเนติกส์ แลบอราทอรี่ จำกัด

Chiangmai Genetics Laboratory Co., Ltd.


เชียงใหม่ เจเนติกส์ คลินิกเทคนิคการแพทย์

32/1 ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300

อีเมล : geneticslab.cm@gmail.com

โทรศัพท์ : 082-9290524

เวลาทำการ : จันทร์-เสาร์ 9.00-17.00 น.

ขอบคุณสำหรับข้อมูล!

©2021 by Chiangmai Genetics Laboratory. Proudly created with Wix.com

bottom of page